หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

     องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

รูปแบบองค์การ

     องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง|การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

การบริหาร

     กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

อำนาจหน้าที่ของ อบต.

  • อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)
  • พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
  • มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
  • จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
  • การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
  • ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  • ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
  • คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
  • มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
  • ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
  • ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  • ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
  • ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
  • ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
  • ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
  • บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
  • การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  • หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
  • ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
  • กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
  • การท่องเที่ยว
  • การผังเมือง

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

     พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549  กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

  • การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  • การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
  • การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  • การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
  • การสาธารณูปการ
  • การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
  • คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  • การจัดการศึกษา
  • การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
  • การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • การส่งเสริมกีฬา
  • การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
  • การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  • การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
  • การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  • การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
  • การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  • การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
  • การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
  • การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การผังเมือง
  • การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
  • การดูแลรักษาที่สาธารณะ
  • การควบคุมอาคาร
  • การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
  • กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหน

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

          สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล  และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยเฉพาะงานธุรการ  งานสารบรรณ  การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  คณะผู้บริหาร ฯ งานพิมพ์ดีด  งานอินเตอร์เน็ตตำบล  งานการเจ้าหน้าที่  งานบริหารงานบุคคล  งานการประชุม  งานการข้อบัญญัติตำบล  งานนิติกร  งานรัฐพิธี  งานประชาสัมพันธ์  งานจัดทำแผนพัฒนาตำบล  งานการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี  งานขออนุมัติดำเนินการตามข้อบัญญัติ  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  งานสวัสดิการสังคม  งานพัฒนาชุมชน  งานจัดระเบียบชุมชน  งานสังคมสงเคราะห์  งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน  งานพัฒนาสตรีและเยาวชน  งานสนับสุนกิจกรรมของเด็กและสตรี  งานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย  รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย  แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล  แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

    1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

        - งานบริหารทั่วไป  มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบงานธุรการ  งานสารบรรณ  การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  คณะผู้บริหารฯ  งานทะเบียนยานพาหนะ  งานพิมพ์ดีด  งานการเจ้าหน้าที่  งานบริหารงานบุคคล  งานการประชุม  งานรัฐพิธี  งานเลือกตั้ง  งานควบคุมและส่งเสริมการท่องเที่ยว  งานอินเตอร์เน็ตตำบล  งานประชาสัมพันธ์  งานรักษษความปลอดภัดและความสะอาดสำนักงาน  งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

        - งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน  มีหน้าที่รับผิดชอบงานสวัสดิการสังคม  งานพัฒนาชุมชน  งานจัดระเบียบชุมชน  งานสังคมสงเคราะห์  งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี  งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน  งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี

        - งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  งานอำนวยการ  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  งานช่วยเหลือฟื้นฟู  งานกู้ภัย  ป้องกันภัยและระงับสาธารณภัยต่างๆ รวมถึงภัยธรรมชาติ  และภัยอื่นๆ  การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

     2. ฝ่ายนโยบายและแผน  

        - งานนโยบายและแผน  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  งานวิชากร  งานนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล  งานจัดทำแผนยุทธศาสตร์  งานแผนพัฒนา 3 ปี  แผนการดำเนินงาน  งานการข้อบัญญัติด้านงบประมาณ  งานกิจการสภา อบต.  งานสารสนเทศ  งานระบบคอมพิวเตอร์ E-Plan  การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่างๆ

        - งานกฎหมายและคดี  มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานกฏหมายและนิติกรรม  งานการดำเนินการทางคดีขององค์การบริหารส่วนตำบล  งานศาลปกครอง  งานร้องเรียนทุกข์และอุธรณ์  งานระเบียบการคลัง  งานข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล  การดำเนินการทางวินัย

งานตรวจสอบภายใน

          มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ภายใน อบต. ที่สังกัด  ในด้านงบประมาณ  บัญชีและพัสดุ  รวมทั้งตรวจสอบหลักฐานเอกสารทางการบัญชี  การเงิน  ยอดเงิน  การทำสัญญา  การจัดซื้อพัสดุ  การเบิกจ่าย  การลงบัญชี  การจัดเก็บรักษาพัสดุในคลังพัสดุ  ตรวจสอบการใช้และเก็บรักษายานพาหนะให้ประหยัดและถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ  ตรวจสอบรายละเอียดรายจ่ายในงบประมาณและการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่าย  รวมถึงเงินยืม  การจ่ายเงินทดรองราชการ  ตรวจสอบงบประมาณรายได้ - รายจ่ายและเงินนอกงบประมาณทุกประเภท  และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

กองคลัง

          มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน  การเบิกจ่าย  การฝากเงิน  การเก็บรักษาเงิน  การตรวจเงิน  การหักภาษีเงินได้และนำส่งภาษี  การตัดโอนเงินเดือน  รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆ  การรายงานเงินคงเหลือประจำวัน  งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปีและขอขยายเวลาเบิกจ่าย  งานจัดทำงบและแสดงฐานะการเงิน  งบทรัพย์สิน - หนี้สิน  งบโครงการ  เงินสะสม  งานจัดทำบัญชีทุกประเภท  งานคุมทะเบียนเงินรายได้ - รายจ่าย  งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้  การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน  งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชีและการรับเงินในกิจการประปา และงานจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล  รวมถึงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย  โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ

     1. ฝ่ายการเงินและงานบัญชี

        - งานการเงิน  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน  การเบิกจ่าย  การฝากเงิน  การเก็บรักษาเงิน  การตรวจเงิน  งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน  การหักภาษีเงินได้และนำส่งภาษี  การตัดโอนเงินเดือน  งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปีและขอขยายเวลาเบิกจ่าย  การรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

        - งานบัญชี  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานจัดทำบัญชีทุกประเภท  งานคุมทะเบียนเงินรายได้ - รายจ่าย  รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆ  งานจัดทำงบและแสดงฐานะการเงิน  งบทรัพย์สิน - หนี้สิน  งบโครงการและเงินสะสม

     2. ฝ่ายพัฒนาและจัดเก็บรายได้

        - งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้  งานภาษีอากร - ค่าธรรมเนียมการจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน  งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชี  การรับเงินในกิจการประปา  งานจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล  งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ  งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้

        - งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานทะเบียนทรัพย์สิน  และแผนที่ภาษี  งานพัสดุ  งานอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง  งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

กองช่าง

          มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสำรวจ  งานออกแบบเขียนแบบถนน อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ ฯลฯ  งานการประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ  งานควบคุมอาคาร  งานก่อสร้าง  งานผังเมือง  งานซ่อมบำรุงทาง อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ  งานควบคุมการก่อสร้าง  งานซ่อมบำรุงในกิจการประปา  จัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบตล  รวมถึงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย  แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ

     1. ฝ่ายก่อสร้าง

        - งานก่อสร้าง  มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการก่อสร้างและบูรณะถนน  งานก่อสร้างและบูรณะสภาพ  งานโครงการพิเศษ  งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม  งานบำรุง-รักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ

        - งานออกแบบและควมคุมอาคารและผังเมือง  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์  งานวิศวกรรม  งานการประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ  งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร  งานบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์  งานสำรวจและแผนที่  งานวางผังพัฒนาเมือง  งานควบคุมทางผังเมือง  งานจัดรูปที่ดินและฟื้นฟูเมือง

     2. ฝ่ายประสานสาธารณูปโภค

        - งานประสานสาธารณูปโภค  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานประสานสาธารณูปโภคและกิจการประปา  งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร  งานระบายน้ำ  งานจัดตกแต่งสถานที่  งานกำจัดขยะมูลฝอยและน้ำเสีย  งานควบคุมสิ่งปฏิกูล  งานรักษาความสะอาดและขนถ่ายสิ่งปฏิกูล

กองการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

         มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารวิชาการศึกษา  งานเทคโนโลยีทางการศึกษา  งานจัดการศึกษา  งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล  งานบริการและบำรุงสถานศึกษา  งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  งานกิจการเด็กและเยาวชน  งานกีฬาและสันทนาการ  การดำเนินการเกียวกับการจัดการศึกษา  การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของประชาชน  การสนับสนุนบุคลากร  วัสดุอุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  จัดสถานที่เพื่อการศึกษา  ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนมธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น  วัฒนธรรมด้านภาษา  การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา  การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

     1. ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

        - งานส่งเสริมการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของประชาชน  การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ  เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  จัดสถานที่เพื่อการศึกษา  ส่งเสริมทำนุบำรุง  รักษาไว้ซึ่งศิลปะประเพณี  ขนมธรรมเนียมจารีตประเพณีท้องถิ่น  วัฒนธรรมด้านภาษา  การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

     2. ฝ่ายบริหารการศึกษาและกิจการโรงเรียน

        - งานการศึกษาและกิจการโรงเรียน  มีหน้าที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ  งานนิเทศการศึกษา  งานเทคโนโลยีทางการศึกษา  งานจัดการศึกษา  งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล  งานบริการและบำรุงสถานศึกษา  งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ส่งเสริมกิจการศาสนา  งานกิจการเด็กและเยาวชน  งานกีฬาและสันทนาการและการดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

          มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  การส่งเสริมสุขภาพอนามัยซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และเด็ก  การสุขาภิบาล  การควบคุมป้องกันโรคและทันตสาธารณสุข  หรือปฏิบัติงานในลักษณะส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานสาธารณสุขที่อยู่ในความรับผิดชอบ  เช่น  วางแผนปฏิบัติงาน  กำหนดวิธีการดำเนินงาน  พิจารณาเสนอแนะ  ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานการให้บริการทางวิชาการสาธารณสุข  ฝึกอบรมเพือ่ฟื้นฟูทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข  สนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้และเวชภัณฑ์ทางสาธารณสุข  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข  หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคระบาด เช่น สอบสวนภาวะการเกิดโรคติดต่อ  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดโรค  เก็บวัตถุติดเชื้อส่งตรวจ  ให้การนิเทศงานทางระบาดวิทยาของโรคต่างๆ  การควบคุมโรค  การสุขาภิบาลอื่นๆ  ตามแผนการสาธารณสุขและข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล  การวางแผนการสาธารณสุข  การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข  งานเฝ้าระวังโรค  การเผยแพร่ฝึกอบรม  การให้สุขศึกษา  การจัดทำงบประมาณตามแผนงานสาธารณสุข  งานด้านสิ่งแวดล้อม  การให้บริการสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น  2  งาน  คือ

     1. ฝ่ายอนามัยและสิ่งแวดล้อม

       - งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสุขาภิบาลทั่วไป  งานสุขาภิบาลโรงงาน  งานอาชีวอนามัย  งานเฝ้าระวัง  งานระบาดวิทยา  งานโรคติดต่อและสัวต์นำโรค  งานโรคเอดส์  งานส่งเสริมและเผยแพร่  งานควบคุมมลพิษ  งานศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  งานติดตามตรวจสอบ

     2. ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข

        - งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานอนามัยชุมชน  งานสาธารณสุขมูลฐาน  งานสุขศึกษา  งานสุขาภิบาล  งานควบคุมอาหาร,น้ำและสถานประกอบการ  งานป้องกันยาเสพติด

        - งานบริการสาธารณสุข  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานให้บริการสาธารณสุขชุมชน  งานบริการเยี่ยมเยียน  งานตรวจสุขภาพร่างกาย  งานรักษาพยาบาลเบื้องต้น  การส่งเสริมสุขภาพอนามัย  งานทันตสาธารณสุข  งานสุขาภิบาล