เกี่ยวกับ อบต.
" เล่าขาน ตำนาน บางเตย "ประวัติความเป็นมา "ตำบลบางเตย" นั้น ที่เรียกว่าบางเตยสืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนการสัญจรไป - มา การขนส่งสินค้าใช้เรื่อเป็นยานพาหนะ การแบ่งเขตพื้นที่ก็ใช้แม่น้ำคู คลอง หรือลำกระโดง เป็นแนวเขต และริมสองฝั่งแม่น้ำบริเวณตำบลบางเตยก็มีต้นเตยหรือปัจจุบันเรียกว่าต้นหนามเตย ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชาวบ้านในละแวกนี้ได้ค้นพบว่าใบเตยมีประโยชน์มากมายนานัปการและที่ขึ้นชื่อและสามารถนำมาใช้สอยได้แก่ หมอนเตย สำหรับหนุนศรีษะเวลานอนหลับพักผ่อน เสื่อเตยไว้สำหรับปูนอน ปูนั่งเล่น รวมถึงการสานปลาตะเพียนสำหรับเป็นของเล่นของประดับได้ ในปัจจุบันจึงถือว่าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านประจำตำบลบางเตย อีกทั้งสมัยก่อนคนไทยนิยมกินหมากกินพลู หมากของตำบลบางเตย ถือว่าเป็นสินค้าขึ้นชื่อ เนื่องจากต้นหมากที่ปลูกบริเวณตำบลบางเตยจะให้รสฝาด เมื่อนำมาผสมกับใบพลู จะให้รสชาติที่ถูกปากคนไทยสมัยก่อนที่นิยมกินหมากเป็นอย่างยิ่ง หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของตำบลบางเตย
ในปัจจุบันได้เกิดมีขนุน เรียกว่า "ขนุนพันธุ์เหลืองบางเตย" สืบเนื่องมาจากเกษตรกรได้เพาะพันธุ์เมล็ดขนุนและได้กลายพันธุ์เกิดเป็นขนุนพันธุ์ใหม่ถือว่าเป็นขนุนพันธุ์ดีและมีชื่อของ ตำบลบางเตย เพราะขนุนพันธุ์นี้ให้ผลดกติดลูกดีและมีผลที่ใหญ่ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อผล มีเนื้อหนาแน่น ยวงยาว รสชาติหวานสีเหลืองน่ารับประทาน ซึ่งปัจจุบันขนุนพันธุ์นี้ต้นแม่พันธุ์อยู่ที่สวนของ นางบังอร สุขทัศน์ หมู่ที่ 3 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และได้มีเกษตรกรนำไปจำหน่ายทั่วทุกภาคของประเทศไทย
|
วิสัยทัศน์ พันธกิจและจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Vision) จากการวิเคราะห์ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบ Swot Analysis และการสรุปสาระสำคัญของนโยบายซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นได้แกลงนโยบายไว้ สามารถนำมาสรุปกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยได้ดังนี้ วิสัยทัศน์ในการพัฒนา : “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าอยู่ ประชาชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ และยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ” พันธกิจ 1) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้มีมาตรฐานครอบคลุมทั่วถึงพร้อมรองรับการขยายตัวของชุมชนเศรษฐกิจและการพาณิชย์ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 2) พัฒนาคุณภาพชีวิตและการสาธารณสุข ส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และการพัฒนารายได้ พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) พัฒนาด้านความปลอดภัยและความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้มีการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรชุมชน และพัฒนาความมั่นคงในการดำรงชีวิต 4) พัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ภาคประชาชน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมสนับสนุนด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี 5) พัฒนาด้านการบริหารจัดการ และการบริการที่ดี ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารงานทั่วไป และการมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาบุคลากร ทรัพยากร และบริหารจัดการในการปฏิบัติราชการ
|
|
สภาพทั่วไปที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยตั้งอยู่เลขที่ 9/99 ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางเตย ถนนสายบางเตย-ไร่ขิง-ทรงคนอง ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 37170 เลขที่ดิน 319 ระวาง UTM หมายเลขระวาง 5036 I 3822 หน้าสำรวจ 938 ตำบลบางเตย เนื้อที่ 1-2-16 ไร่ จัดตั้งขึ้นโดยยกฐานะจากสภาตำบลบางเตยเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2539 ปัจจุบันได้ปรับขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554 อาคารที่ทำการเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น และอาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ใช้เป็นห้องประชุมอเนกประสงค์ , ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบลบางเตย , สภาวัฒนธรรมตำบลบางเตย และที่ทำการชมรมผู้สูงอายุบางเตยสร้างสรรค์ อยู่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามพรานประมาณ 16 กิโลเมตร พิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ N 13 องศาเหนือ 46 ลิปดา 29.3 ฟิลิปดา และ E ที่ 100 องศาตะวันออก 16 ลิปดา 45.1 ฟิลิปดา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีแม่น้ำท่าจีนกั้นระหว่างหมู่ที่ 1, 2 กับหมู่ที่ 3 , 4 , 5 , 6 และ 7 สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลบางเตยเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน และมีลำคลองสาธารณะและคลองขุดเองต่างๆ เป็นคลองซอยลักษณะคล้ายคลองชลประทาน มีน้ำใช้ตลอดปี พื้นดินเป็นดินเหนียวที่ตกตะกอน มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะต่อการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชสวนและไม้ผลต่างๆ ได้แก่ ส้มโอ หมาก มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่บางส่วนในหมู่ที่ 1และหมู่ที่ 2 มีการทำนาข้าว นาผักกะเฉด และเลี้ยงปลาน้ำจืดบางส่วน พื้นดินเป็นดินเหนียวที่มีองค์ประกอบของดินอยู่ในกลุ่มดินที่ 8 และ 8/2 ซึ่งประกอบด้วยดินชุดบางเลนที่ตกตะกอนทับถมผิวดิน ดินชุดบางกอกและดินชุดธนบุรี สภาพภูมิอากาศ มี 3 ฤดูกาลคือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-มกราคม และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 6 ปี ประมาณ 983 มิลลิเมตร/6 ปี โดยมีการกระจายตัวของปริมาณน้ำฝนมากกว่า 130 มิลลิเมตร อยู่ 3 เดือน คือช่วงเดือนพฤษภาคม , กันยายน และตุลาคม เดือนที่ฝนตกหนักมากที่สุด คือเดือนกันยายน
|
เขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย มีพื้นที่ 10.725 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,703.125 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยเต็มพื้นที่ ทั้ง 7 หมู่บ้าน ดังนี้ - หมู่ที่ 1 บ้านคลองสามบาท มีพื้นที่ประมาณ 1,496.38 ไร่ - หมู่ที่ 2 บ้านคอราง มีพื้นที่ประมาณ 1,457.45 ไร่ - หมู่ที่ 3 บ้านคลองหลวง มีพื้นที่ประมาณ 702.04 ไร่ - หมู่ที่ 4 บ้านบางเตย มีพื้นที่ประมาณ 762.15 ไร่ - หมู่ที่ 5 บ้านคลองโพธิ์ มีพื้นที่ประมาณ 796.35 ไร่ - หมู่ที่ 6 บ้านคลองดงตาล มีพื้นที่ประมาณ 826.24 ไร่ (เดิมบ้านบางเตย) - หมู่ที่ 7 บ้านคลองผีเสื้อ มีพื้นที่ประมาณ 663.21 ไร่ |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอาชีพ - อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม - พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ทำนาข้าว นาผักกะเฉด ส้มโอ ขนุน หมาก กล้วยไม้ มะม่วงและพืชผักล้มลุก เป็นต้น - อาชีพรอง คือ ค้าขายและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม - ประชาชนส่วนใหญ่สามารถประกอบอาชีพในการเลี้ยงชีพตนเองได้ดี และมีรายได้อยู่ในระดับเกณฑ์ดี (ข้อมูล จปฐ. ปี 55) ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ - รายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร , ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม , รับจ้างทั่วไปและรับราชการ พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ - พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ขาวทองดี ขนุนพันธุ์เหลืองบางเตย หมากสดและหมากแห้ง มะพร้าวน้ำหอม กล้วย ข้าว ผักกะเฉด เป็นต้น หน่วยธุรกิจในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล - โชว์รูมรถยนต์ จำนวน 3 แห่ง - ร้านซ่อมรถ อะไหล่รถ จำนวน 15 แห่ง - ร้านอาหาร จำนวน 6 แห่ง - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 6 แห่ง - ร้านค้าไม้แปรรูป จำนวน 3 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 33 แห่ง - ร้านล้างอัดฉีดรถยนต์ จำนวน 1 แห่ง - ห้องแถว จำนวน 43 แห่ง - โกดังเก็บของ จำนวน 6 แห่ง - ห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง - ร้านค้าเบ็ดเตล็ด จำนวน 42 แห่ง (ที่มา : งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ณ เดือนมิถุนายน 2555 ) กลุ่มองค์กรภาคประชาชน/ มวลชนจัดตั้ง - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตำบลบางเตย จำนวน 48 คน - กลุ่มสตรีเพื่อการพัฒนาอาชีพ จำนวน 85 คน - กลุ่มออมทรัพย์ระดับหมู่บ้าน 5 กลุ่ม จำนวน 217 คน - ชมรมผู้สูงอายุบางเตยสร้างสรรค์ จำนวน 339 คน - กลุ่มผู้ผลิตส้มโอ จำนวน 70 คน - กลุ่มผู้ผลิตข้าว จำนวน 229 คน - กลุ่มผู้ผลิตผักกะเฉด จำนวน 20 คน - กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลบางเตย จำนวน 35 คน - ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับตำบล จำนวน 30 คน - ศูนย์วัฒนธรรมตำบลบางเตย จำนวน 16 คน - ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร จำนวน 1 แห่ง
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมการศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 แห่ง - ศูนย์การศึกษานอกระบบโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง และตามอัธยาศัยประจำตำบลบางเตย - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคอราง จำนวน 1 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.บางเตย) จำนวน 1 แห่ง อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน - ร้านขายยาปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - จุดสายตรวจตำรวจในเขตตำบลข้างเคียง จำนวน 1 แห่ง (เทศบาลตำบลบางกระทึก) - สถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว (ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง) จำนวน 1 แห่ง - ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตำบลบางเตย จำนวน 1 แห่ง - ทีมหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย (OTOS) จำนวน 10 คน - เครือข่ายอาสาวารี จำนวน 5 คน - รถบรรทุกน้ำดับเพลิง จำนวน 2 คน การโทรคมนาคม - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 14 แห่ง การไฟฟ้า - อัตราการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้าน คิดเป็นอัตราร้อยละ 100 แหล่งน้ำธรรมชาติ - แม่น้ำท่าจีน จำนวน 1 สาย - ลำคลองสาธารณะ จำนวน 32 สาย แยกเป็น - หมู่ที่ 1 จำนวน 2 คลอง ได้แก่ คลองหมอคง ระยะทางยาวประมาณ 2.5 ก.ม. และคลองสามบาท ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล และเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีน ระยะทางยาวประมาณ 5.0 ก.ม. - หมู่ที่ 2 จำนวน 7 คลอง ได้แก่ คลองตาฆ้อง , คลองผู้ใหญ่ตี๋ , คลองจ่าพุฒ , คลองยายแคน , คลองใหม่ซึ่งเป็นคลองตัน, คลองคุต และคลองบางเตย ระยะทางประมาณ 5.5 ก.ม. ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล และเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีน - หมู่ที่ 3 จำนวน 6 คลอง ได้แก่ คลองประดู่ (มีประตูระบายน้ำก่อสร้างโดยกรมชลประทาน) , คลองอบต.ใช้ , คลองประดับ , คลองครูเมธ , คลองหลวงและคลองเทิดพระเกียรติ ซอย 3 ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีน - หมู่ที่ 4 จำนวน 6 คลอง ได้แก่ คลองยายจู๋ , คลองราษฎร์สามัคคี , คลองใหญ่ , คลองนายภานุ , คลองนายประเสริฐ และคลองนางสมศรี - หมู่ที่ 5 จำนวน 5 คลอง ได้แก่ คลองยายใบ ระยะทางประมาณ 800 เมตร , คลองยายหนู ระยะทางประมาณ 500 เมตร , คลองป้าแจง ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร , คลองโพธิ์ ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร และคลองเจ๊กหยู ระยะทางประมาณ 500 เมตร - หมู่ที่ 6 จำนวน 3 คลอง ได้แก่ คลองดงตาล (มีประตูระบายน้ำก่อสร้างโดยกรมชลประทาน) , คลองผู้ใหญ่เทียนอิ่น และคลองร่วมใจพัฒนา - หมู่ที่ 7 จำนวน 3 คลอง ได้แก่ คลองผีเสื้อ , คลองยายเทียบและคลองยายแอ๋ว แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - บ่อน้ำบาดาล จำนวน 12 แห่ง - หอถังน้ำประปา คสล. จำนวน 12 แห่ง - สถานีสูบน้ำ สำนักชลประทาน ที่ 11 กรมชลประทาน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สถานีสูบน้ำ ปตร.สามบาท โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ และสถานีสูบน้ำ ทรบ. บางเตย สำนักชลประทานที่ 11 การสาธารณูปโภค – สาธารณูปการ - ถนนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น ได้แก่ ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ถนนพุทธมณฑลสาย 5 และถนนสายไร่ขิง-บางเตย-ทรงคนอง อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมทางหลวง - ถนนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย จำนวน 21 สาย
|